ระหว่างปี1962-1969 คริสตจักรท้องถิ่นในประเทศกัวเตมาลาได้เผชิญกับปัญหาขาดแคลนผู้นำในคริสตจักร ซึ่งโรงเรียนพระคริสตธรรมไม่สามารถสร้างผู้รับใช้ให้เพียงพอกับอัตราการเจริญเติบโตของคริสตจักร ดังนั้นคริสตจักรเลยส่งเด็กกำพร้าในความดูแลให้ไปเรียนในโรงเรียนพระคริสตธรรม หวังว่าเด็กเหล่านั้นจะกลับมาเป็นศิษยาภิบาลแต่เด็กเหล่านั้นกลับใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแทนที่จะกลับมารับใช้ในคริสตจักรท้องถิ่น
ในปี 1970 คริสตจักรท้องถิ่นในทวีปแอฟริกาก็เจอปัญหาเดียวกันไม่สามารถที่จะสร้างผู้นำได้ทันความต้องการ จึงมีผู้นำที่ขึ้นมาทำหน้าที่ศิษยาภิบาลโดยที่ไม่ได้รับการอบรม ทำให้คริสตจักรบางแห่งขาดผู้นำที่เหมาะสมกับหน้าที่และความต้องการของคริสตจักร
ในช่วงนั้นมีการเปิดสอนพระคัมภีร์ทางไปรษณีย์และสอนแบบเคลื่อนที่ ผู้สอนจะเดินทางไปยังที่ต่างๆเพื่อสอนพระคัมภีร์ในทุกๆ 4-6 สัปดาห์ แต่การอบรมด้วยวิธีนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ และเมื่อพวกเขาได้ยินถึงวิธีการสอน, การอบรมเพื่อการรับใช้ในคริสตจักรในแถบลาติน
อเมริกา พวกเขาจึงสนใจและเดินทางจากบ้านไปเรียนด้วยกันทุกอาทิตย์ เราเรียกวิธีการเรียนแบบนี้ว่า “การศึกษาศาสนศาสตร์แบบนำความรู้ออกไปสู่ผู้เรียน” มีมิชชันนารีที่ทำงานในโครงการนี้ที่แอฟริกา คือ ศจ.ราล์ฟ วินเทอร์ และผู้ช่วยชื่อ ศจ.เฟรด ฮอลแลนด์ ต่อมาเขาได้เขียนตำราการเรียน,จัดสัมนา,การอบรมและเขียนคู่มือมากมายเพื่อโครงการนี้ การสอนในลักษณะแบบนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า “Theological Education by Extension” หรือ ที.อี.อี (T.E.E) โครงการนี้มีชื่อภาษาไทยว่า “การศึกษาศาสนศาสตร์แบบนำความรู้ออกไปสู่ผู้เรียน” ในปัจจุบันนี้มีการสอบมากมายหลายโครงการที่ใช้หลักการของ T.E.E.
คริสตจักรไทยในปัจจุบันนี้มีปัญหาคล้ายๆกับคริสตจักรในกัวเตมาและแอฟริกา มีผู้นำมากมายในคริสตจักรที่ยังไม่ได้รับการอบรมและไม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนพระคริสตธรรมเพราะไม่สามารถที่จะละทิ้งงานละทิ้งครอบครัวเป็นเวลานานถึง 4 ปีได้
ในปี 1989 มีผู้หญิง 3 คนซึ่งเป็นสมาชิกในคริสตจักรแห่งหนึ่งในประเทศไทยอยากเรียนพระคัมภีร์ในเวลานั้น พวกเขายังไม่คิดเรื่องการสอนพระวจนะแก่ผู้เชื่อใหม่ แค่คิดอยากจะเรียนรู้พระคัมภีร์เท่านั้น ปรากฏว่า ดร.ล้อค คา จัน (Dr. Leok Har Chan) ได้พบหลักสูตรการสอนผู้เชื่อใหม่ชื่อ “Abundant life” (ชีวิตที่ครบบริบูรณ์) เมื่อเขาได้เรียนที่ Alliance theological Seminary ในอเมริกาและได้ใช้ในการสอนแก่ผู้หญิงทั้ง 3 คนเป็นภาษาอังกฤษ ในขณะนั้นท่านคิดว่าควรแปลคู่มือและบทเรียนของหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทยเพื่อคนไทยจะสามารถใช้ได้ด้วย ดังนัั้นจึงร่วมมือกันแปลคู่มือแบบเรียน “ชีวิตที่ครบบริบูรณ์” เมื่อพวกเขาทั้ง 3 คนเรียนจบยังได้เรียนวิชาอื่นๆอีก จนกระทั่ง อ.นอร์แมน ฟอร์ด ได้แนะนำให้ ดร. จัน ใช้หนังสือภาษาอังกฤษชื่อ The Life of Christ (ชีวประวัติของพระคริสต์) เล่ม 1เป็นหลักสูตร S.E.A.N. ซึ่งย่อมาจาก Study by Extension for All Nations เป็นตำราในการสอนอีกด้วย
หลังจากพวกเขาเรียนจบวิชา “ชีวประวัติของพระคริสต์” เล่ม 1 พวกเขาและคริสตจักรได้เห็นผลที่เกิดขึ้นจากการเรียน จึงตัดสินใจเรียนเล่มที่ 2 ต่อ แต่ในขณะเดียวกันผู้เรียนเองก็มีส่วนรับใช้ในคริสตจักรเกี่ยวกับการสร้างสาวกโดยนำบทเรียน “ชีวิตที่ครบบริบูรณ์” ฉบับภาษาไทยนั้นสอนแก่ผู้เชื่อใหม่และมีส่วนอื่นๆอีกหลายอย่าง จึงเป็นเรื่องที่หนักมากสำหรับพวกเขาทั้ง 3 คน พวกเขาจึงไม่ได้เรียนหลักสูตรนี้ต่อไป
ในช่วงปี 1990 อ.เจอร์รี่ สูง ได้เริ่มใช้หนังสือ “ชีวประวัติของพระคริสต์” กับพี่น้องม้งในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งได้แปลเป็นภาษาม้งขณะที่เป็นศิษยาภิบาลที่อเมริกาก่อนจะมาเป็นมิชชั่นนารีในประเทศไทย
ในปี 1994 ศจ.ลิขิต เพอชันส์ กำลังรับใช้ที่คริสตจักรมหาพรสุขุมวิท ได้เริ่มพิจารณาปรับปรุงแก้ไขภาษาและเรียบเรียงหนังสือ “ชีีวิตที่ครบบริบูรณ์” ขึ้นใหม่และได้จัดหาผู้แปลหนังสือ “ชีวประวัติของพระคริสต์เล่มที่ 1” เป็นภาษาไทยแล้วเสร็จสิ้นการจัดทำ
ในปี 2000 สยามมิชชั่นได้รับเงินสนับสนุนให้มีการแปลหลักสูตรขององค์กร S.E.A.N ทั้งหมดเป็นภาษาไทย ในเวลานั้น อ.ลิขิต ได้กลับมาจากอเมริกาและได้เริ่มต้นปรับปรุงแก้ไขของหนังสือ “ชีวประวัติของพระคริสต์ เล่มที่ 1” และเริ่มจัดเรียบเรียงเป็นหนังสือขึ้น
ในปี 2001 ดร.เจอร์รี่ สูง และ อ.ลิขิต ได้แต่งตั้งองค์กร ที.อี.อี. ขึ้นในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาผู้นำ” ที่เรียกกันว่า ศ.ส.พ. (Center for Leadership Development)
ในปี 2002 อ.ลิขิต พร้อมทีมงานได้แปลและจัดและจัดทำหนังสือเล่มที่ 1-3 สำเร็จ และเริ่มแปลวิชาอื่นๆขององค์กร S.E.A.N. ในปีเดียวกัน ศ.ส.พ. ได้จัดตั้งศูนย์แห่งแรกที่คริสตจักรมหาพรสุขุมวิท (กรุงเทพฯ) โดย ดร.จัน ร่วมกับศิษยาภิบาลท่านหนึ่งชื่อ อ.ภาวิณี เชษฐ์ศุทธยางกูร ทำหน้าที่เป็นผู้นำศูนย์ ซึ่งท่านทั้งสองเริ่มอบรมสมาชิกที่เป็นผู้นำในคริสตจักร หลังจากปีนั้นมาจำนวนศูนย์การอบรม ผู้นำศูนย์และผู้เรียน ก็ได้เพิ่มมากขึ้น